บทที่ 6 ประกอบคอมพิวเตอร์


6.1 การเตรียมอุปกรณ์ประกอบเครื่อง

ควรเตรียมอุปกรณ์ดังนี้ครับ



เคส (Case)

เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นโครงหรือกล่องสำหรับบรรจุ
และยึดอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์เอาไว้ภายใน
เช่น แผงวงจรหลักฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำ หน่วย
ประมวลผลให้มีความมั่นคงกะทัดรัด เคลื่อนย้ายได้
ขณะเดียวกันก็เพื่อ ความปลอดภัย เช่นป้องกันไฟดูด
ป้องกันอุปกรณ์สูญหายและการป้องกันการส่งคลื่น
รบกวนการทำงานของอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ อาจทำ
มาจาก โครงเหล็ก อลูมิเนียม หรือพลาสติก ลักษณะ
ของเคสมีทั้งแบบแนวนอนและแนวตั้ง ปัจจุบันผู้ผลิต
มีการออกแบบรูปร่างหน้าสวยงามน่าใช้ ซึ่งมีมากมาย หลายราคาให้เลือกใช้


เมนบอร์ด (Mainboard)
เมนบอร์ด คือ แผงวงจรหลักที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วน
อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ทำหน้าที่เป็นกลางทำให้อุปกรณ์ต่างๆ
ทำงานร่วมกันได้และเป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมอุปกรณ์อื่น
ไม่ว่าจะเป็น CPU, RAM, HDD, CD-ROM, FDD
VGA CARD เป็นต้น เมนบอร์ดแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ
จะสนับสนุนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ไม่เหมือนกัน เมนบอร์ดใน
ปัจจุบันมีอุปกรณ์มาพร้อมกับเมนบอร์ดมากขึ้น (on board)
ทำให้สามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ในราคา
ที่ไม่แพงนัก


ซีพียู (CPU:Central Processing Unit)
คือ หน่วยประมวลผลกลาง : เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุด
ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่คำนวณ และประมวลผล
คำสั่งข้อมูลต่าง ๆที่ผู้ใช้ สั่งผ่านเข้ามาเปรียบเสมือน
มันสมองของมนุษย์ ซีพียูได้รับการพัฒนาให้มีขีดความ
สามารถสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตซีพียู
ที่รู้จักกันดี คือ Intel และ AMD





หน่วยความจำแรม
(RAM:Random Access Memory)
เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้
จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้า
หล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง
ข้อมูลที่ อยู่ภาย ในหน่วยความจำชนิดนี้จะหายไปทันที
หน่วยความจำแรมทำหน้าที่ รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU
ประมวลผล





ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
เป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภทหนึ่ง (Storage Device)
ปัจจุบันเป็นอุปกรณ์ ที่จำเป็น และ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่
ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ใช้ในการ
ติดตั้งระบบปฏิบัติการลงโปรแกรม ประยุกต์และ เก็บข้อมูล
ของผู้ใช้ เนื่องจากโปรแกรมหรือข้อมูลในปัจจุบันมีขนาด
ใหญ่ไม่สามารถที่จะเก็บลงในแผ่นดิสเก็ตได้หมด ฮาร์ดดิสค์
จะบรรจุอยู่ในกล่องโลหะปิดสนิท เพื่อป้องกันสิ่งสกปรก
หลุดเข้าไปภายใน ซึพียู



เพาว์เวอร์ซัพพลาย (Power Suppy)
คือแหล่งจ่ายไฟ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่ง ทำหน้าที่
แปลง สัญญาณ ไฟฟ้ากระแสสลับ จากแหล่งกำเนิดให้เป็นไฟฟ้า
กระแสตรงด้วยความต่างศักย์ที่เหมาะสมก่อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์
โดยมีสายเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ภายในเครื่อง
ซึ่งในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดความร้อน
ขึ้นด้วย ดังนั้นภายในแหล่งจ่ายไฟ จึงต้องมีพัดลมเพื่อช่วยในการ
ระบายความร้อนออกจากตัวเครื่อง ซึ่งมีความสำคัญมากเพราะ
การที่เครื่องมีความร้อนที่สูงมาก ๆ นั้น อาจจะเกิดความเสียหาย
ต่ออุปกรณ์ประกอบภายในเครื่องได้ง่าย
Display Card (การ์ดแสดงผล : การ์ดจอ)
หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อ
โปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ซีพียูเมื่อซีพียู
ประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบน
จอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่ง
ข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมาการ์ดแสดงผล
รุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็ว
การแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มาก
พอสมควร
Sound Card (การ์ดเสียง)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลภาพและสร้างสัญญาณเสียงต่างๆ
เพื่อส่งออกไปยังลำโพง การ์ดเสียงได้รับการพัฒนาคุณภาพ
อย่างรวดเร็วเพื่อ ให้ได้ประสิทธิภาพของเสียงและความผิดเพี้ยน
น้อยที่สุด ความชัดเจนของเสียง จะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้น
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่าง และ
ความแม่นยำ ของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้น
ถูกกำหนด โดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความ
ละเอียดมากน้อยเพียงใด

ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ (FDD)
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ หรือที่เราเรียกง่ายๆ ว่า Drive A คือ อุปกรณ์
ที่ใช้สำหรับอ่านแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ ขนาด 3.5 " มีขนาดความจุ
1.44 MB. แต่ในอดีตนั้น ดิสก์ไดรว์ลักษณะนี้จะมีอยู่หลายขนาด
เช่น ขนาด 5 1/4" ซึ่งในอดีต เป็นที่นิยมใช้งานกันมากเพราะ
สามารถพกพาไปไหนได้สะดวกและโปรแกรมการใช้งาน
ในอดีตก็มีขนาดที่เล็กจนสามารถบันทึกลงไปในดิสก์แผ่นเดียวได้
ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมนักผู้ใช้บางคนนิยมเลือกใช้เป็นการ์ดรีดเดอร์
หรือหน่วยความจำแบบเฟรส (แฮนดี้ไดรว์)
ซีดีรอมไดร์ว (CD-ROM Drive)
คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บน CD-Rom
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาซีดีรอมไดรว์ไห้สามารถเขียนแผ่น
CD-R ,CD-RW , DVD-R และ DVD-RW ได้ ซึ่งนอกจาก
ความหลากหลายในการอ่านและเขียนข้อมูลแล้ว ก็ยังได้มีการ
พัฒนาความเร็วในการอ่านและเขียนควบคู่กันไปด้วย

6.2 ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์



ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

1. ขั้นแรกให้เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
เช่น ไขควงสี่แฉก กล่องสำหรับใส่น็อต คู่มือเมนบอร์ด คีมปากจิ้งจก


0




2. เริ่มจากการติดตั้งซีพียูก่อน โดยง้างขาล็อคของซ็อกเก็ตขึ้นมาจากนั้น
นำซีพียูมาใส่ลงไปในซ็อกเก็ตโดยให้วางตำแหน่งขาที่ 1 ของซีพียูและซ็อกเก็ตให้ตรงกัน โดยสังเกตว่าที่ขาที่ 1 ของซีพียูจะทำเครื่องหมายเป็นจุดเล็กไว้ที่มุมด้านบนของซีพียู




3. เมื่อวางซีพียูตรงล็อคกับซ็อกเก็ตแล้ว จากนั้นให้กดขาล็อกลงไปเหมือน
เดิม แล้วนำซิลิโคนมาทาตรงบริเวณคอร์ (แกน) ของซีพียู และไม่ควรทาซิลิโคนให้
หนา หากเห็นว่าหนาเกินไปให้ใช้กระดาษหรือแผ่นพลาสติกมาปาดออกเสียบ้าง






4. ติดตั้งฮีทซิงค์และพัดลมลงไปบนคอร์ของซีพียู ติดล็อกให้เรียบร้อย
ในขั้นตอนนี้มีจุดที่ต้องระวังอยู่ 2 จุดคือ การติดตั้งฮีทซิงค์ของพัดลมจะต้องแนบสนิทกับคอร์ของซีพียู อย่าพยายามกดแรงไป บางทีคอร์ของซีพียูอาจบิ่นได้ ส่วนขาสปริงที่ยึดพัดลมบางทีมันแข็งเกินไป บางคนใช้ไขควงพยามยามกดขาสปริง ให้เข้าล็อก ซึ่งอาจทำให้พลาดไปขูดเอาลายปริ้นบนเมนบอร์ดขาดทำให้เมนบอร์ดอาจเสียหายได้





5. เสียบสายไฟของพัดลมเข้ากับขั้ว CPU FAN โดยดูจากคู่มือเมนบอร์ด






6. นำแรมมาเสียบเข้ากับซ็อกเก็ตแรมโดยให้ตรงกับร่องของซ็อกเก็ต จากนั้น
จึงกดลงไปจนด้านล็อกทั้ง 2 ด้านดีดขึ้นมา (บางเมนบอร์ดตัวล็อกทั้งสองด้านอาจไม่จำเป็นต้องดีดขึ้นมาก็ได้ให้ดูว่าเข้าล็อกกันก็พอ)






7. ขันแท่นรองน็อตเข้ากับเคส







8. นำเมนบอร์ดที่ได้ติดตั้งซีพียูและแรมวางลงไปบนเคส จากนั้นขันน็อตยึด
เมนบอร์ดเข้ากับตัวเคสให้ครบทุกตัว





9. เสียบการ์ดแสดงผลลงไปในสล็อต AGP เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส





10. เสียบการ์ดเสียงลงไปในสล็อต PCI เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส






11. เสียบสายเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับขั้วต่อบนเมนบอร์ด โดยควรเสียบให้
ปลั๊กของสายเพาเวอร์ซัพพลายตรงล็อกกับขั้วต่อบนเมนบอร์ด






12. สอดไดรฟ์ซีดีรอมเข้ากับช่องว่างหน้าเคส แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคส
ให้แน่น







13. เสียบสาย IDE เข้ากับไดรฟ์ซีดีรอมโดยให้แถบสีแดงตรงกับขาที่ 1หรือด้านที่ติดกับขั้วสายไฟ จากนั้นจึงเสียบสายไฟและสายสัญญาณเสียงเข้าไปด้วย






14. เสียบสาย IDE อีกด้านเข้ากับขั้วต่อ Secondary IDE บนเมนบอร์ด
โดยแถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย






15. สอดฮาร์ดดิสก์เข้ากับช่องติดตั้ง แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคสให้แน่น






16. เสียบสาย IDE เข้ากับฮาร์ดดิสก์โดยให้แถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือด้าน
ที่ติดกับขั้วสายไฟ จากนั้นจึงเสียบสายไฟเข้าไปด้วย







17. เสียบสาย IDE อีกด้านเข้ากับขั้วต่อ Primary IDE บนเมนบอร์ด โดยแถบ
สีแดงตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย





18. สอดไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์เข้าไปในช่องติดตั้ง แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคสให้แน่น





19. เสียบสายไฟเข้ากับขั้วต่อสายไฟของฟล็อบปี้ดิสก์ ให้สังเกตสายไฟของ
ฟล็อบปี้ดิสก์จะมีหัวขนาดเล็กกว่าสายไฟของซีดีรอมและฮาร์ดดิสก์)








20. เสียบสายแพขนาด 34 เส้น (เส้นเล็กกว่าสายแพของฮาร์ดดิสก์และซีดีรอม)
ให้ด้านที่มีการไขว้สายเข้ากับขั้วต่อไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์ โดยแถบสีแดงของสายแพต้องตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย หากใส่ผิดด้านไฟของไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์จะติดตลอด วิธีแก้ไขคือให้หันสายแพกลับด้านเพราะไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์บางยี่ห้ออาจต้องใส่สลับด้านกัน





21. เสียบสายแพอีกด้านเข้ากับขั้วต่อฟล็อบปี้ดิสก์บนเมนบอร์ด โดยให้สาย
สีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือ pin1 ของขั้วต่อด้วย






22. เสียบสายสัญญาณต่างๆ จากเคส เช่น สวิตช์เปิดปิดเครื่อง ไฟบอก
สถานะเปิดเครื่อง ไฟบอกสถานะฮาร์ดดิสก ปุ่ม Reset ลำโพง ลงบนเมนบอร์ดควรดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้วย โดยต้องเสียบขั้วให้ถูกหากผิดขั้ว คอมพิวเตอร์ จะไม่ติดหรือมีไฟค้างตลอดเวลา วิธีแก้ไขคือให้เราลองสลับขั้วและเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่






23. เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เราลองสำรวจดูว่ามีน็อตหรืออุปกรณ์อื่นๆ
ตกค้างอยู่บนเมนบอร์ดหรือไม่ เพราะอาจทำให้เกิดกระแสไฟลัดวงจรจนเกิดความ เสียหายต่อเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ นอกจากนี้ควรตรวจสอบ การติดตั้งทั้งหมดว่าเรียบร้อยดีแล้ว เช่น การ์ดต่างๆ หรือสายสัญญาณเสียบ แน่นหนาดีหรือยัง โดยเฉพาะฮีทซิงค์และพัดลมต้องแนบสนิทกับซีพียู พร้อมทั้งล็อกติดกันอย่างแน่นหนา




24. เมื่อเรียบร้อยดีแล้วปิดฝาเคสและขันน็อตให้เรียบร้อย ก็เป็นอันเสร็จสิ้น
 

6.3 การตั้งค่าจัมเปอร์ และดิปสวตช์

การตั้งค่าจัมเปอร์ เป็นวิธีการกำหนดให้เมนบอร์ด และอุปกรณ์ทุกตัวทำงานร่วมกับ ซีพียูในรุ่รระดับที่มีความเร็วต่างกันได้ และอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการกำหนดค่าต่างๆ บนเมนบอร์ดนั้นก็คือ จัมเปอร์แฃะดิปสวิตช์นั่นเอง

1. จัมเปอร์
จัมเปอร์ มีลักษณธเป็นพลาสติกแท่งสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ตรงปลายของจัมเปอร์นั้นจะมีช่องสำหรับเสียบ ภายในของจัมเปอร์จะมีโลหะเป็นตัวนำไฟฟ้าให้วงจรของขาที่เสียบนั้นปิดถึงกัน





2. ดิปสวิตช์
ดิปสวิตช์ มีลักษณะเป็นพลาสติกสี่เหลี่ยมที่ประกอบสวิตช์ขนาดเล็กที่วางเรียงกันอยู่ในแนวเดียวกัน จะใช้การเปิดและปิดสวิตช์ ในการกำหนดค่าต่างๆ


6.4 การติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับเคส

ติดตั้ง Mainboard ลงใน Case




ให้ตรวจสอบว่าแผงด้านหลัง (I/O Shield) ของ Case นั้นตรงกับ Back Panel ของ Mainboard หรือไม่ ถ้าไม่ตรงให้ถอด ออก แล้วนำแผง
ด้านหลังที่ให้มากับ Mainboard มาติดตั้งแทน


สังเกตช่องสำหรับขันน็อตหกเหลี่ยม เพื่อเป็นฐานสำหรับยึด Mainboard ภายในเคส เทียบกันกับตัว Mainboard แล้วขันน็อตหกเหลี่ยมให้ตรงกัน


นำ Mainboard เข้าภายใน Case เบา ๆ โดย จัดให้ด้านที่เป็น Back Panel ( I/O Port ) ลอดออกมาทางแผงด้านหลัง ( I/O Shield ) ก่อนแล้วจึงค่อยวาง Mainboard ลง (ขั้นตอนนี้ระวังอย่าให้ Mainboard ไปขูดกับน็อตหกเหลี่ยม)


ขันน็อต ตามตำแหน่งที่รองด้วยน็อตหกเหลี่ยม โดยใช้น็อตเกลียวหยาบที่มีแหวนรองสีแดง (ระวังอย่าขันแน่นจนเกินไปเพราะอาจทำให้ Mainboard เสียหายได้ )